คำถามที่พบบ่อย
FAQ PRIME9 KIDS
อาหารเสริมสำหรับเด็ก คือ สารอาหารหรือวิตามินต่าง ๆ ที่ทารกจำเป็นต้องได้รับเพิ่มเติมขึ้นมานอกเหนือไปจากการกินนมแม่ หรืออาหารหลักของเด็ก ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงที่เด็กยังกินนมแม่อยู่นั้น ทารกยังไม่จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินเสริมใดๆ หรือแม้กระทั้งน้ำเปล่าก็ไม่จำเป็นและไม่ควรทานเลยค่ะ เพราะนมแม่นั้นมีสารอาหารและมีน้ำเป็นส่วนประกอบที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกอยู่แล้ว
เพราะเด็กแต่ละคนเกิดมามีสุขภาพที่แตกต่างกัน รวมถึงมีพฤติกรรมการกินนมแม่ หรือการทานอาหารไม่เหมือนกัน ดังนั้น เด็กบางคนอาจไม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเสริมใดๆ แค่กินนมแม่หรืออาหารหลักที่ทานทุกวันก็ถือว่าเพียงพอแล้ว แต่ในเด็กบางคนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร หรือเสี่ยงที่จะได้รับสารอาหารบางอย่างน้อยเกินไป เช่น แม่มีสุขภาพไม่ดี มีน้ำนมไม่เพียงพอ เด็กไม่ยอมทานอาหาร กรณีแบบนี้เด็กก็ควรได้รับอาหารเสริมเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก
อาหารเสริมของเด็กไม่มีช่วงระยะเวลาที่ควรให้ลูกกินชัดเจน ถ้าหากเด็กมีภาวะขาดสารอาหารตั้งแต่ในช่วง 6 เดือนแรก ก็สามารถเสริมได้ทันทีในช่วง 6 เดือนแรก
กลุ่มวิตามินสำหรับเด็กที่แพทย์มักจะแนะนำให้มีการทานเสริมสำหรับทารกที่มีภาวะขาดแคลนสารอาหาร เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และเพียงพอต่อพัฒนาการด้านต่างๆของเด็ก ได้แก่
- วิตามินดี: วิตามินดีจำเป็นต่อการสร้างกระดูกที่แข็งแรง และในน้ำนมแม่มักมีวิตามินดีในปริมาณที่น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของทารก แพทย์จึงอาจแนะนำให้ทารกที่กินนมแม่ทุกคนได้รับวิตามินดี 400 IU ต่อวันในรูปแบบของอาหารเสริม โดยบางครั้งอาจแนะนำให้เริ่มตั้งแต่ช่วง 2-3 วันหลังคลอด
- ธาตุเหล็ก: ธาตุเหล็ก ทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดให้แข็งแรง และดีต่อพัฒนาการสมอง แพทย์อาจแนะนำให้มีการเสริมธาตุเหล็กแก่ทารกเพื่อช่วยป้องกันการขาดธาตุเหล็กและโรคโลหิตจาง โดยเฉพาะในเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะขาดธาตุเหล็กหรือเสี่ยงมีภาวะโลหิตจาง
- วิตามินซี: วิตามินซี มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และยังทำหน้าที่สำคัญช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้นอีกด้วย ดังนั้น แพทย์อาจแนะนำให้เสริมวิตามินซีแก่ทารก เพื่อให้ทารกมีร่างกายแข็งแรง และสามารถดูดซึมธาตุเหล็กมาใช้ในกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้ดีขึ้นด้วย
- วิตามินเอ: วิตามินเอ จำเป็นต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาของทารก โดยเฉพาะในเด็กทารกหลายคนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ แพทย์อาจแนะนำให้มีการเสริมวิตามินเอสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ
- ดีเอชเอ: ดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid : DHA) เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ประเภทหนึ่ง ซึ่งองค์กรด้านโภชนาการระดับโลก อย่าง FAO WHO และ EFSA แนะนำปริมาณ DHA ที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละวัยไว้ดังนี้
เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี รับประทานปริมาณ 10 – 12 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
เด็กอายุ 2 ปี ขึ้นไปควรรับประทานปริมาณไม่เกิน 250 มิลลิกรัม / วัน
ถึงแม้ในน้ำนมแม่จะมีดีเอชเอเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว แต่คุณแม่สามารถทานอาหารที่มีดีเอชเอสูงเพื่อทำให้น้ำนมแม่มีดีเอชเอสูงมากขึ้น และลูกก็จะได้รับดีเอชเอผ่านน้ำนมแม่ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาสมอง ระบบประสาทและสายตา สำหรับเด็กที่หย่านม ทานนมแม่น้อยลงแล้ว หรือทานอาหารอย่างเดียวแล้ว ก็สามารถทานอาหารเสริมที่มีส้วนประกอบของดีเอชเอได้
อาหารเสริมบางอย่าง ได้รับมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น วิตามินซี บางยี่ห้ออาจมีส่วนประกอบของน้ำตาลในปริมาณที่มาก เพื่อให้เด็กสามารถกินได้ง่ายขึ้น หากได้รับเข้าไปมาก ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อน้ำหนักตัวของเด็กได้ หรือ ธาตุเหล็ก หากได้รับธาตเหล็กในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ท้องผูก ถ่ายสีดำหรือสีเขียว คลื่นไส้ ถ่ายเหลว ปวดท้อง หายใจลำบาก มึนศีรษะ ปวดท้องมาก เป็นต้น
เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของเด็ก คุณพ่อคุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงข้อแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอย่างเคร่งครัด ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป รวมถึงจัดเก็บอาหารเสริมในที่ที่เหมาะสม ไม่ร้อน ไม่ชื้น ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมีหรือสารพิษต่าง ๆ และเก็บให้พ้นมือเด็ก รวมถึงต้องศึกษาข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหารของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้อาหารเสริมบางชนิดอยู่ในรูปแบบเม็ดหรือผง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการรับประทานอาหารเสริมของเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาหารสำลักหรือติดคอได้
ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะซื้ออาหารเสริมสำหรับเด็ก ควรคำนึงปัจจัย ดังนี้
- เลือกซื้ออาหารเสริมเด็กตามที่แพทย์แนะนำ หรือได้รับมาตรฐานทางการแพทย์
- เลือกซื้ออาหารเสริมเด็กได้รับมาตรฐานความปลอดภัย หรือมี อย. กำกับเอาไว้อย่างถูกต้อง
- เลือกซื้ออาหารเสริมเด็กที่ผลิตโดยโรงงานที่ได้มาตรฐาน เช่น HACCP และ GHP เป็นต้น
- เลือกซื้ออาหารเสริมเด็กจัดจำหน่ายโดยบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ
- เลือกซื้ออาหารเสริมเด็กที่มีฉลากและคำแนะนำในการใช้งานอย่างชัดเจน
- ตรวจดูข้อมูลวันที่ผลิตและวันหมดอายุบนฉลากอย่างละเอียดและถี่ถ้วนทุกครั้ง
Fishoil softgel
FAQ PRIME9 KIDS
DHA (Docosahexaenoic acid ; DHA) คือ กรดไขมันจำเป็นในกลุ่มโอเมก้า 3 ซึ่งร่างกายจะไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้นะคะ จะต้องได้จากการรับประทานอาหาร อย่างเช่น นมแม่ ปลาทะเลน้ำลึก ปลาน้ำจืด เช่น ปลาสวาย ปลาช่อน และสาหร่ายทะเลบางชนิด เป็นต้น ซึ่ง DHA เป็นโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสมองและสายตา ตั้งแต่ทารกในครรภ์ไปจนถึงวัยสูงอายุ
องค์กรด้านโภชนาการระดับโลก FAO WHO, UN และ EFSA แนะนำปริมาณ DHA ที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละวัยและคุณแม่ตั้งครรภ์ไว้ดังนี้
เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี รับประทานปริมาณ 10 – 12 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน
เด็กอายุ 2 – 4 ปี รับประทานปริมาณ 100-150 มิลลิกรัม ต่อวัน
เด็กอายุ 4 – 6 ปี รับประทานปริมาณ 150-200 มิลลิกรัม ต่อวัน
เด็กอายุ 6 – 10 ปี รับประทานปริมาณ 200-250 มิลลิกรัม ต่อวัน
เด็กอายุ 10 – 18 ปี รับประทานปริมาณไม่เกิน 250 มิลลิกรัม ต่อวัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานปริมาณ 200 – 300 มิลลิกรัม ต่อวัน
ในผลิตภัณฑ์ Prime9 Fishoil softgel 1 เม็ด ประกอบด้วยน้ำมันปลา 420 มก., DHA 114.4 มก. และ EPA 73 มก.
Prime9 เล็งเห็นถึงความปลอดภัยของลูกน้อย ดังนั้น จึงแนะนำให้เจาะเม็ด Softgel และบีบน้ำมันภายใน ใส่ในอาหารจานโปรดหรือนมของลูกน้อย หรือสามารถบีบใส่ช้อนทานได้เลย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นคาวปลา เนื่องจากมีกลิ่นและรสส้ม เด็กๆชอบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการสำลัก
ผู้ที่แพ้อาหารทะเลหรือปลาไม่ควรกินน้ำมันปลาโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ โดยอาการแพ้ที่พบได้บ่อย คือ การเกิดลมพิษ และอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งจะกระทบต่อการทำงานของระบบในร่างกายหลายส่วนพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาทันที อาจทำให้เสียชีวิตได้
การแพ้อาหารในเด็ก เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ การแพ้อาหารเป็นสภาวะอาการที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองผิดปกติต่อโปรตีนในสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายผลิตสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ผื่นแพ้ อาการบวม แสบร้อน และอาการอื่น ๆ ขึ้นกับระดับความรุนแรงของการแพ้และสารอาหารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมีการแพ้อาหารหลายชนิดพร้อมกันหรือแพ้อาหารเพียงชนิดเดียวก็เป็นได้ โดยอาจเป็นอาการแพ้ชั่วคราว เฉียบพลัน หรือเรื้อรังได้
การป้องกันไม่ให้ลูกมีภาวะแพ้อาหาร คือ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรทานอาหารตามปกติ ให้มีความสมดุล ไม่มากหรือน้อยเกินไป เมื่อลูกคลอดออกมาแล้วให้ทานนม และให้เริ่มทานอาหารตามวัย ตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน โดยที่ควรทานอาหารที่หลากหลาย และควรสังเกตอาการของลูก หากมีอาการแพ้อาหารทั้งแบบเฉียบพลัน หรือไม่เฉียบพลัน ให้รีบมาปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
Calcium cocoa
FAQ PRIME9 KIDS
เป็นส่วนของน้ำนมที่จะหลั่งจากเต้านมหลังจากคลอดลูกประมาณ 3-4 วัน ก่อนจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมปกติในระยะเวลาต่อมา ซึ่งเชื่อกันว่าโคลอสตรุ้มนั้นมีสารอาหารและประโยชน์ต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำนมทั่วไปในหลายด้าน เช่น การเสริมสร้างภูมิต้านทาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลำไส้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เด็กอายุ 6 เดือน -1 ปี ควรได้รับแคลเซียม 600 มิลลิกรัม/วัน
เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม/วัน
เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มิลลิกรัม/วัน
เด็กอายุ 9-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1300 มิลลิกรัม/วัน
Prime9 Calcium Cocoa 1 เม็ด ประกอบด้วยแคลเซียม แอล-ทริโอเนต 400 มก. และแคลเซียม 120 มก.
ทารกแรกเกิด – 6 เดือน 2 ไมโครกรัม/วัน
เด็กอายุ 7 เดือน – 1 ปี 2.5 ไมโครกรัม/วัน
เด็กอายุ 1-3 ปี 30 ไมโครกรัม/วัน
เด็กอายุ 4-8 ปี 55 ไมโครกรัม/วัน
เด็กอายุ 9-13 ปี 60 ไมโครกรัม/วัน
เด็กอายุ 14-18 ปี 75 ไมโครกรัม/วัน
Prime9 เล็งเห็นถึงความปลอดภัยของลูกน้อย ดังนั้น จึงแนะนำให้หักเม็ด Calcium Cocoa เป็นชิ้นเล็กเหลี่ยม หรือบดละเอียดก่อนให้เด็กรับประทาน เพื่อป้องกันอันตรายจากการสำลัก
ผู้ที่แพ้นมวัวไม่ควรกินโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ โดยอาการแพ้ที่พบได้บ่อย คือ การเกิดลมพิษ และอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งจะกระทบต่อการทำงานของระบบในร่างกายหลายส่วนพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาทันที อาจทำให้เสียชีวิตได้
น้ำมันปลา
- ผู้ที่แพ้อาหารทะเล แพ้ปลา หรือแพ้สารที่ใช้ในการผลิต จึงควรอ่านฉลากของผลิตภัณฑ์ก่อนรับประทานเสมอ
- ผู้ที่กินยาต้านการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือโคลพิโดเกล เป็นต้น
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการแข็งตัวของเลือด เลือดหยุดไหลได้ยาก หรือมีแผลในกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่กำลังจะต้องเข้ารับการผ่าตัดในอีกไม่นานนี้
แคลเซียม
- ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาลดความดันโลหิต ยาฮอร์โมนบางกลุ่ม เพราะทำให้ยาเหล่านี้ถูกดูดซึมน้อยลง จึงควรกินยาเม็ดแคลเซียมให้ห่างจากยาอื่นอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- การทานแคลเซียม โดยเฉพาะแคลเซียมในรูปแคลเซียมคาร์บอเนต อาจส่งผลให้เกิดอาการอืดแน่นท้อง ท้องผูก
- การทานแคลเซียมรบกวนการ ดูดซึม แร่ธาตุเหล็กและสังกะสี
- การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้มีปริมาณแคลเซียมสูงขึ้นในปัสสาวะ (hypercalciuria) และเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งต่อการเกิดนิ่วในไต ดังนั้นไม่ควรได้รับแคลเซียมเกินกว่าปริมาณสูงสุดที่ควรได้รับต่อวัน
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไตเรื้อรังหรือการทำงานของไตบกพร่อง ที่อาจมีแคลเซียมในเลือดสูงร่วมกับมีฟอสเฟตในเลือดสูงอยู่เดิม การให้แคลเซียมเม็ดเพิ่มในผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะก้อนแคลเซียมใต้ผิวหนัง (soft tissue calcification) หรือที่เส้นเลือด (vascular calcification) ได้
วิตามินดี3
- เนื่องจากวิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมและนำแคลเซียมไปใช้ในร่างกาย ดังนั้น การได้รับวิตามินดีที่มากเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปเช่นกัน
- ผู้ป่วยกลุ่มที่มีโรคที่ต่อมพาราไทรอยด์ มะเร็งบางอย่าง และวัณโรค เพราะการรับประทานวิตามินดีเสริม ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งอาจมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงอยู่แล้ว แย่ลงได้
วิตามินเค2
- ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรือภาวะอาการป่วยอื่น ๆ ที่ต้องระมัดระวังในการบริโภคอาหาร และควบคุมปริมาณวิตามิน เค ที่ร่างกายควรได้รับ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้อาหารเสริมวิตามิน เค เสมอ
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ วางแผนการตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร • ผู้ทีใช้ยารักษาบางชนิด เช่น ยาลดกรด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาปฏิชีวนะ แอสไพริน ยารักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะชัก หรือยารักษาโรคมะเร็ง
- ผู้ที่ต้องทำฟัน หรือผ่าตัดรักษา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่ากำลังบริโภคอาหารเสริมวิตามิน เค อยู่
โคลอสตรุ้ม
- ผู้ที่แพ้นมวัวและมีภาวะย่อยแล็กโทสบกพร่อง (Lactose Intolerance) อาจเกิดผลข้างเคียงจากการทานโคลอสตรุ้มได้
โกโก้
- เนื่องจากโกโก้มีส่วนประกอบของคาเฟอีนและสารเคมีอื่น ๆ หากบริโภคในปริมาณมากก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น รู้สึกกังวลใจ ปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่ให้นมบุตร การรับประทานโกโก้อาจมีความปลอดภัยหากรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะหรือปริมาณปกติที่พบได้ในมื้ออาหาร อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังไม่รับประทานจนมากเกินไปเนื่องจากคาเฟอีนในโกโก้อาจเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กได้ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อาการลำไส้แปรปรวน และท้องเสีย เป็นต้น
ยีสต์ เบต้า กลูแคน
- ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์จากเบต้ากลูแคน เพราะเบต้ากลูแคนจะไปกระตุ้นภูมิต้านทานร่างกาย จึงอาจทำให้ตัวยามีประสิทธิภาพลดลง เช่น ยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine) ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine) ยาเพรดนิโซน (Prednisone) เป็นต้น
- การทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดได้
- การทานโคลอสตรุ้มในผู้ที่แพ้นมวัวอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียได้
- การได้รับวิตามินดีมากเกินไปทำให้เกิดภาวะเป็นพิษ ซึ่งอาการของภาวะวิตามินดีเป็นพิษ เกิดจากระดับแคลเซียมในเลือดสูง โดยมีการดังนี้ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง สับสน ขาดสมาธิ ซึม เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน รวมถึงอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต หินปูนในเต้านม มะเร็งเต้านม หินปูนในหลอดเลือด และหลอดเลือดตีบตัน ควรเลือกแคลเซียมแบบที่ดูดซึมง่าย การกินแคลเซียมควรเลือกแบบที่ดูดซึมง่าย ผลข้างเคียงน้อย และต้องกินควบคู่กับวิตามินดี (ปล แคลเซียมใน Prime9 Calcium Cocoa อยู่ในรูปแบบแคลเซียม แอล-ทริโอเนต ซึ่งเป็นแคลเซียมที่ดูดซึมได้ดีที่สุด ดูดซึมสูงถึง 90%)
- การทานน้ำมันปลามากเกินไป อาจส่งผลจนเกิดผลข้างเคียง เช่น เลือดแข็งตัวช้า เสี่ยงต่อการเลือดออกแล้วหยุดช้า โดยเฉพาะเมื่อทานร่วมกับยา ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน วาร์ฟาริน หรือโคลพิโดเกล
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม Prime9 ได้รับการรับรองสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) – กระทรวงสาธารณสุข และผลิตโดยโรงงานที่ได้รับรองระบบประกันคุณภาพ GHP สากล และ HACCP สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจาก Intertek
ยังไม่มี
ควรทานอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 – 6 เดือน เพื่อผลลัพธ์ที่ชัดเจน